วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ชาวบ่อวินสุดทน ปัญหาบ่อขยะ

เสาวนีย์ นิ่มปานพยุงวงศ์ : ไร่ สับปะรดมีอยู่ก่อนแล้ว นิคมอุตสาหกรรมมาซื้อที่ดินบริเวณนี้ แล้วตั้งโรงงาน โรงขยะก็มาตั้งอยู่ใกล้ๆ ปล่อยน้ำเสียออกมา ผ่านไร่สวนของชาวบ้าน ลงลำห้วยในชุมชน ไหลไปรวมที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ที่เขาเอาไปทำน้ำประปา
ตอนนี้ไม่ใช่แค่กลิ่นเหม็นที่เรากลัว แต่เรากลัวโรคมินามาตะ จึงทำให้พวกเราต้องลุกขึ้นคัดค้าน ความรู้สึกของ ทิวา แตงอ่อน ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บ่งบอกถึงความกังวลใจ หากบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด หรือ WMS บริษัทลูกของกลุ่มบริษัท โดวะ ประเทศญี่ปุ่น กลุ่มธุรกิจจัดการขยะที่มีเครือข่ายทั่วโลกกว่า 76 บริษัท
โดยตั้งในไทย 6 บริษัท หนึ่งในนั้นคือ บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ใน ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2544 จะดำเนินการในเฟสที่ 2 บนพื้นที่ 110 ไร่ โดย ทิวาเล่าว่าเริ่มแรกที่มีการทำหลุมฝังกลบขยะใช้พื้นที่ 75 ไร่ จำนวนขยะกว่า 2 ล้านตัน ซึ่ง WMS บอกกับชาวบ้านว่าเป็นขยะไม่อันตราย แรกๆ ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง หลังจากนั้น 2 ปี ชาวบ้านบ่อวินนับพันคนและพนักงานโรงงานหลายแห่งในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชได้ รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง โดยชาวบ้านได้ร้องเรียนไปยัง WMS หลายครั้งแต่ปัญหากลิ่นเหม็นก็ยังมีต่อเนื่อง
โรงงานบางแห่งที่อยู่ใกล้ต้องย้ายหนีไปตั้งที่อื่น แต่บ้านเรือนของชาวบ้านซึ่งอยู่กันมาหลายชั่วอายุคน ก็ต้องทนรับสภาพมากว่า 10 ปี นับแต่มีการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ เรารู้ว่าเขารับฝัง กลบขยะอันตราย ที่รู้เพราะว่า คนขับรถขนขยะเป็นคนบ่อวิน ซึ่งเขาไปรับจากท่าเรือ คุณจะหลอกใครก็ได้ แต่หลอกคนบ่อวินไม่ได้ ที่ชาวบ้านสงสัยคือทำไมเขานำเข้าขยะจากต่างประเทศมาทิ้งในไทย ให้คนไทยรับกรรม และที่สำคัญยังทำธุรกิจบำบัดน้ำเสียรับจากโรงงานต่างๆ ในพื้นที่ชลบุรี ระยองมาบำบัดจากวันละ 350,000 ลิตร เป็น 800,000 ลิตร แล้วปล่อยน้ำลงสู่ลำห้วยบอน กับห้วยมะนาว ใน ต.บ่อวิน ไหลผ่าน อ.มาบยางพร อ.ปลวกแดง แล้วมาลงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งเอาไปทำน้ำประปาเลี้ยงคนเป็นแสนๆ คนใน จ.ระยองและภาคตะวันออก
ขณะ ที่ชาวบ้านบ่อวินกังวลว่า น้ำที่ปล่อยออกจากการบำบัดแล้วอาจไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากทางสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงมาตรวจสอบ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่าคุณภาพน้ำจากบ่อสังเกตการณ์รอบหลุมฝังกลบขยะมีปริมาณการปนเปื้อนโลหะ หนักที่เป็นสารก่อมะเร็งจาก 9 ชนิด เกินกว่า 6 ชนิด และแมงกานีส 12 ชนิดยังพบสารอินทรีย์ระเหยง่าย แต่กลับผ่านการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA จาก เฟสแรกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ จาก WMS ในปีที่ผ่านมายังประกาศจะขยายกิจการในเฟสที่ 2 อีก 110 ไร่ในพื้นที่เดิมและรับฝังกลบขยะอันตรายโดยเฉพาะ ซึ่ง ทิวา เล่าว่า เมื่อรู้ว่าเขาจะขยายกิจการ เราก็เดินหน้าคัดค้าน โดยรวบรวมรายชื่อชาวบ้านได้หลายพันคนเพื่อยื่นคัดค้าน ขณะเดียวกัน WMS กลับเดินหน้าเช่นกัน โดยยื่น สผ.เพื่อทำรายงาน EIA และ HIA ในส่วนที่ขยายเพิ่มเติม เราไม่ยอมและเราคัดค้าน แต่เขาไม่สนใจเสียงชาวบ้าน ซึ่ง สผ.ก็เข้ามาตรวจแล้ว พบว่าเป็นไปตามที่ชาวบ้านร้องเรียน แต่ราชการทำให้ EIA และ HIA ผ่านได้ ทำได้ยังไง ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมารวบรวมรายชื่อชาวบ้านรวม 8 แฟ้ม พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และแบบสอบถาม ไปยื่นให้ทั้ง สผ. ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม แต่เขาไม่สนใจชาวบ้านแม้แต่น้อย การ เริ่มต้นคัดค้านตามประสาชาวบ้านที่มีการร้องเรียนไปยังผู้เกี่ยวข้องเห็นจะ
ไม่เป็นผล จึงนำมาสู่การจุดพลุประกาศคัดค้านเด็ดขาดจะไม่เอาหลุมฝังกลบขยะไว้ในพื้นที่ บ่อวิน ซึ่งทิวาบอกว่าจากเดิมที่เคยเสนอว่าจะให้ WMS ปรับปรุงหลุมฝั่งกลบแรกและให้มีการจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียให้ดี และหยุดปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำ แต่เขาไม่เคยทำตามที่ชาวบ้านขอร้อง วันนี้เราพร้อมเดินหน้าคัดค้าน เพราะที่ตั้งก็ไม่เหมาะสมมานานแล้ว นอกจากอากาศเป็นพิษ ยังส่งผลต่อดิน ต่อน้ำ หากใครรู้ว่าสับปะรดศรีราชามีแหล่งที่มาอยู่ใกล้บริเวณบ่อขยะแล้วใครจะซื้อ กิน ขณะที่แตงโมกำลังออกผล ใบยังไหม้และเน่าเสีย กระทบไปหมดทุกอย่าง ที่ ผ่านมากระบวนการการทำงานของเขาเอื้อต่อการปิดบังซ่อนเร้นมาก
คือ ขุดลงไปในดินเป็นแอ่งกระทะ เอาขยะเข้ามาเท แล้วเอาดินกลบ เอาผ้าดำปิด ไม่มีใครรู้ว่าเอาอะไรมาทิ้ง เพราะเป็นพื้นที่ปิดอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน ฝังจนกลายเป็นภูเขา มองเห็นในระยะไกลหลายกิโลเมตร เท่ากับคนบ่อวินมีระเบิดเวลาน้ำหนัก 2 ล้านตัน ข้างล่างเป็นผ้ายางดำ 1.5 มิลลิเมตร ลองก้นหลุม คิดดูว่าสารเคมีก็สามารถกัดกร่อนผ้ายางได้ ทำให้สารพิษซึมสู่น้ำใต้ดิน ซึมสู่น้ำบาดาล ชาวบ้านใช้น้ำบาดาลรดพืชเกษตรแล้วใครเดือดร้อน โดย ทิวา เล่าว่า ขณะที่ชาวบ่อวินคัดค้านที่ไม่ให้มีบ่อฝังกลบขยะในพื้นที่เพียง 2 เดือน กลับมีหลุมฝังกลบขยะเกิดขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ 500 ไร่ อ.มาบยางพร จ.ระยอง ห่างจาก ต.บ่อวินไป 10 กิโลเมตร เป็นโอกาสของคนที่เห็นโอกาส ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เมื่อเขารู้ว่าคนบ่อวินไม่เอาบ่อขยะ จึงเปิดพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับขยะที่โยกย้ายมาจากบ่อวิน ซึ่งจุดนี้อยู่ติดกับต้นน้ำอ่างเก็บน้ำดอกกรายเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาเช่นกัน เราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ไล่จากที่หนึ่งไปเกิดอีกที่หนึ่ง ดูชาวบ้านที่ จ.สระบุรี เจ็บป่วยกันมากมายก็ต้องทนรับสภาพไป เราไม่อยากไปก่อกรรมทำเข็ญ ซึ่งชาวบ้านใน อ.มาบยางพร ยังไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาต่อต้าน เพราะชาวบ้านกลัวอิทธิพล ขณะ ที่ตอนนี้จุดยืนของกลุ่มอนุรักษ์บ่อวิน
ได้เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คัดค้านเพื่อไล่จากบ่อวินไปอยู่ที่อื่น แต่ตอนนี้เราเสนอให้ กรมส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมแห่งประเทศไทย ร่วมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จัดการเรื่องการบำบัดขยะอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ เพื่อลดปัญหามลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นและลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ ประกอบกิจการจำกัดขยะด้วย ทิวา บอกว่าในวันที่ 8 ตุลาคมที่จะถึงนี้ ชาวบ้านบ่อวินจะรวมพลเครือข่ายคัดค้านบ่อขยะทั่วประเทศที่สำนักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการคัดค้านบ่อกำจัดขยะที่ไม่มีการจัดการที่ดีจนก่อ ให้เกิดมลพิษ กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และรณรงค์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีการจัดการขยะให้เป็นระบบทั่วประเทศ หลังจากนั้นจะเดินหน้ายื่นหนังสือร้องเรียนไปถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ลงมาดูแลเรื่องนี้ โดยเขาเสนอว่าหากจะลด ปัญหาความขัดแย้งกับชาวบ้านก็ควรให้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีบ่อกำจัดขยะใน พื้นที่ ไม่ต้องมาตั้งใกล้ชุมชนให้คนในนิคมโวยวายกันเอง ใครก่อมลพิษคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ และจะเสนอว่าปัจจุบันยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกมาก นอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หากเป็นไปได้รัฐบาลควรจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงงานเพื่อ รองรับขยะที่มีจำนวนมหาศาล ถ้ารัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการควบคุม การก่อสร้างบ่อกำจัดขยะให้อยู่ในจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดขยะ ก็จะลดปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ต้องรวมไปถึงผู้ประกอบกิจการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย หากชาวบ้านไม่เดือดร้อนก็จะไม่ออกมาคัดค้าน แต่ในเมื่อชาวบ้านคัดค้านแล้ว
 ก็ควรลงมาดู ลงมาแก้ปัญหา วันนี้แม้จะเป็นการประกาศต่อสู้ ครั้งแรกของชาวบ่อวิน ที่ไม่เพียงทำเพื่อให้ตัวเองได้หลุดพ้นจากกลิ่นเหม็นมลพิษต่างๆ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากขยะเท่านั้น หากแต่พวกเขายังเข้าใจคนหัวอกเดียวกันที่ต้องทนรับสภาพ โดยที่ไม่มีหน่วยงานใดเหลียวแล ซึ่งทิวากล่าวทิ้งท้ายว่า หาก วันนี้คนบ่อวินจุดประกายปัญหานี้ไปสู่สังคมให้รับรู้ได้ ก็คาดหวังว่าการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังเสียที เราอยากให้ลูกหลานมีอากาศที่บริสุทธิ์หายใจบ้าง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น